GMAT Course by inttutor
เพราะสิ่งที่ผู้เรียนแต่ละคนยังขาดอยู่นั้นไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นทางสถาบัน inttutor จึงเน้นการสอนในรูปแบบ ตัวต่อตัว(one-no-one) และกลุ่มเล็ก(Private small group) โดยอาจารย์ที่มีประสบการณ์สอนมากกว่า 12ปี อาจารย์ผู้สอนจะคอยสังเกตุและทดสอบผู้เรียนอยู่ตลอดเวลาระหว่างการเรียนการสอน ทำให้สามารถเพิ่มเติ่มสิ่งที่ยังขาดอยู่ของผู้เรียนแต่ละคนได้อย่างเต็มที่ตรงจุดตรงประเด็น เป็นผลให้สามารถเพิ่มคะแนนได้อย่างแท้จริงประยุกต์ใช้เป็นไม่ใช่เพียงจำไปเพื่อสอบเท่านั้น
GMAT (New Format 2018)
GMAT (Graduate Management Admission Test) คือ ข้อสอบที่ใช้ในการวัดระดับความรู้ทางด้านวิชาการสำหรับการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทสาขาวิชาบริหารธุรกิจ MBA (Master of Business Administration), M.S. Marketing, M.S. Finance และอื่นๆ โดยข้อสอบ GMAT เป็นที่ยอมรับและสามารถใช้ในการยื่นเข้ามหาลัยต่างๆได้ทั่วโลก
รูปแบบการสอบของ GMAT ในส่วนของ Quantitative Reasoning และ Verbal Reasoning จะใช้ระบบ Computer Adaptive Test (CAT) โดยข้อสอบจะเริ่มจากคำถามที่มีความยากระดับกลางในข้อแรกเสมอและเมื่อผู้ทดสอบตอบถูกข้อสอบจะเพิ่มระดับความยากขึ้นและในทางกลับกันถ้าผู้ทดสอบตอบคำถามผิดระบบจะทำการลดระดับความยากลงในข้อต่อไปผู้ทดสอบได้ทำข้อสอบที่มีระดับความยากตรงกับความสามารถของตัวเอง พูดง่ายๆคือถ้าอยากได้คะแนนเยอะต้องทำข้อสอบถูกต้องอย่างต่อเนื่องเพราะคะแนนจะคำนวนมาจากจำนวนข้อที่ตอบถูกและค่าเฉลี่ยของระดับความยากที่ผู้สอบได้ทำไป ระหว่างการทำข้อสอบแต่ละข้อจะไม่สามารถกดข้ามไปทำข้ออื่นก่อนได้จำเป็นต้องตอบก่อนถึงจะไปทำข้อต่อไปได้แต่จะไม่ถูกหักคะแนนถ้าตอบผิด เพราะฉะนั้นถ้าหากทำไม่ได้ควรจะมั่วแล้วข้ามไปข้อต่อไปเลยเพื่อไม่ให้เสียเวลา
ตัวข้อสอบ GMAT ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของข้อสอบในปี 2018 แต่ยังคงเน้นทักษะการคิดวิเคราะห์อยู่มากเหมือนเดิม โดยจะลดลงทั้งเวลาสอบและจำนวนข้อของคำถามในแต่ละส่วน จากข้อสอบรูปแบบเก่า 4 ชม. เป็นแบบใหม่ 3 ชม. 30 นาที (จำนวนข้อลดลง 6 ข้อ เวลาลดลง 13นาที ในส่วนของ Quantitative reasoning, จำนวนข้อลดลง 5 ข้อ เวลาลดลง 10 นาที ในส่วนของ Verbal reasoning และ 7นาทีสุดท้ายลดลงในส่วนอื่นๆที่ไม่ใช่ข้อสอบ) ทางผู้ออกข้อสอบ GMAT ได้ให้ข้อมูลว่าข้อสอบ GMAT รูปแบบใหม่นั้นไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาใดๆสามารถเตรียมตัวสอบด้วยเนื้อหาเดิมได้ทั้งหมด ข้อสอบรูปแบบใหม่เพียงแต่ตัดคำถามที่เป็น Research questions ทิ้งออกไปและคำถามพวกนี้จะไม่ได้ถูกนั้นไปคำนวนเพื่อคิดคะแนนอยู่แล้ว ทำให้จำนวนข้อที่ต้องตอบนั้นลดลง การคิดคะแนนจึงยังคงเหมือนเดิม โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
Section
Time / Number of Questions
Type of Questions
Score Range
Analytical writing assessment
30 นาที / 1 ข้อ
Analysis of an argument
0 to 6 (in 0.5 point increment)
Integrated reasoning
30 นาที / 12 ข้อ
Graphics interpretation, table analysis, multi-source reasoning, two part analysis
1 to 8 ( in 1 point increment)
Quantitative reasoning
62 นาที / 31 ข้อ
Data sufficiency, problem solving
6 to 51 (in 1 point increment)
Verbal reasoning
65 นาที / 36 ข้อ
Reading comprehension, critical reasoning, sentence corrections
6 to 51 (in 1 point increment)
คะแนนของ GMAT จะอยู่ระหว่าง 200-800 โดยจะถูกคิดมาจาก คะแนนดิบของ Quantitative reasoning และ Verbal reasoning แค่ 2 ส่วนเท่านั้น (จะรู้คะแนนทันทีหลังสอบเสร็จ) อีก 2 ส่วนที่เหลือจะคิดคะแนนแยกออกไปของแต่ละส่วนเองและจะประกาศอย่างเป็นทางการผ่าน Email ในอีกประมาณ 3 สัปดาห์หลังสอบเสร็จ ตัวคะแนนสามารถเก็บไว้ใช้ได้เป็นเวลา 5 ปี สำหรับคนที่ต้องการเข้ามหาลัยระดับท๊อปของโลกควรตั้งเป้าไว้ให้สอบได้มากกว่า 730 คะแนนขึ้นไป โดยคิดเป็นประมาณ 96th percentile
Quantitative Reasoning Section
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) Problem Solving เป็นการทดสอบความเข้าใจและความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ผู้สอบต้องแก้โจทย์เชิงคณิตศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยการคำนวณ (arithmetic), พีชคณิต (algebra), และ เรขาคณิต (geometry) เป็นต้น
2) Data Sufficiency จะคล้าย กับ Critical Reasoning ใน Verbal Section เป็นการทดสอบทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับโดยผู้สอบต้องพิจารณาว่าข้อมูลเพียงพอในการแก้โจทย์หรือไม่ โดยข้อสอบไม่ได้ขอให้ผู้สอบทำการแก้โจทย์ข้อนั้นจริงๆ
Verbal Section
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1) Sentence Correction (SC) เป็นการทดสอบความรู้พื้นฐานด้านภาษา ผู้สอบต้องแก้ไขจุดที่ผิดใน
ประโยคภาษาอังกฤษโดยอ้างอิงจากกฎไวยากรณ์มาตรฐาน
2) Reading Comprehension (RC) เป็นการทดสอบความสามารถ ในการอ่านจับ ใจความและการ
ตีความ (inference) ความหมายต่าง ๆ ผู้สอบต้องตอบคำถามเกี่ยวกับบทความที่อ่าน ทั้งแบบสั้น
และแบบยาว
3) Critical Reasoning (CR) เป็นการทดสอบทักษะในการใช้เหตุผลประเมินข้อโต้แย้ง ผู้สอบต้อง
พิจารณาข้อมูลที่ได้รับมาและตอบคำถามโดยอนุมานจากความรู้ที่มี
การสมัครสอบ GMAT และ สถานที่สอบในประเทศไทย
การสมัครสอบสามารถสมัครผ่าน Online Application ในเว็บไซด์ (https://www.mba.com/exams/gmat/before-the-exam/register-for-the-gmat-exam)
โดยเข้าไปกรอกข้อมูลส่วนตัวและเลือกรอบสอบพร้อมชำระค่าสมัครสอบ 250 USD ผ่านบัตรเครดิตได้เลย แต่ผู้สอบต้องมีอายุมากกว่า 18 ปีและเรียนจบปริญญาตรีแล้วถึงจะสมัครได้ ใน 1 ปีจะสามารถสมัครสอบได้เพียง 5 รอบเท่านั้นโดยต้องเว้นช่วง 16 วันก่อนสมัครรอบต่อไป (สมัครสอบได้มากที่สุดไม่เกิน 8 รอบตลอดทั้งชีวิต) ส่วนศูนย์สอบมีให้เลือก 2 ที่ คือ
Test Center in Bangkok
Pearson Professional Centers-Bangkok, Thailand
Bangkok Business Building
Level 10 Unit 10-10
54 Sukhumvit 21
Bangkok
10110
Thailand
Test Center in Chiang Mai
Movaci
420/11-13 Chaang Klaan Road
Tambon Changklaan,
Muang
Chiang Mai
50100
Thailand
สมัครเรียนผ่านไลน์