Study Abroad

UK_plane

การเตรียมตัวก่อนไปศึกษาต่อต่างประเทศ

ทุกวันนี้การไปศึกษาต่อต่างประเทศเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากนักเรียนจะได้รับการฝึกฝนทางด้านภาษามากกว่าการเรียนต่อในประเทศไทย นักเรียนหลายๆคนจึงคาดหวังว่าเมื่อไปเรียนต่อแล้วความรู้ทางด้านภาษาของตัวเองจะดีขึ้น แต่การที่เราจะไปเรียนต่อที่ต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพเราจะต้องมีพื้นฐานความรู้ทางด้านภาษาอยู่ก่อนในระดับนึง เราจึงจะสามารถไปฝึกฝนให้ชำนาญได้ที่ต่างประเทศเพราะการที่ไปโดยที่ไม่มีความรู้พื้นฐานมากเพียงพออาจจะทำให้เราต้องใช้เวลามากเกินไปและอาจไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ทั้งยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเรียนมากเกินจำเป็น นักเรียนที่จะไปเรียนต่อจึงควรไปทดสอบวัดระดับความรู้ของตนเองก่อนที่จะตัดสินใจไปศึกษาต่อ (IELTS, TOEFL) ทั้งนี้การไปเรียนต่อต่างประเทศจะเปรียบเสมือนการบังคับให้นักเรียนต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษตลอดเวลาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ทั้ง 4 ทักษะที่จำเป็นคือ ฟัง, พูด, อ่าน และ เขียน  ส่งผลให้นักเรียนกล้าพูดกล้าแสดงออกทางด้านภาษามากขึ้น การเรียนต่อในต่างประเทศยังให้ผลพลอยได้ในเรื่องของวุฒิภาวะทำให้นักเรียนได้เผชิญกับสถาณการณ์ต่างๆด้วยตัวเอง และหลังจากเรียนจบแล้วนักเรียนจะได้รับความน่าเชื่อถือในวงกว้างมากกว่า เนื่องจากการเรียนในระบบอินเตอร์ได้รับการยอมรับจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ

สำหรับเด็กไทยที่ไม่เคยเรียนระบบอินเตอร์มาก่อนเลยการไปเรียนต่อต่างประเทศแน่นอนว่าต้องมีการเตรียมตัวมากกว่าเด็กที่เรียนอยู่ในระบบอินเตอร์ตั้งแต่เด็กๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะลำบากอะไรมากมายนัก สิ่งสำคัญคือต้องเตรียมใจให้พร้อมที่จะเรียนรู้และพบเจอกับประสบการณ์ใหม่ๆ และรูปแบบการเรียนการสอนแบบอินเตอร์

ระบบอินเตอร์ Vs ระบบการศึกษาแบบไทย

1. เนื้อหาของบางรายวิชา – บางวิชาที่เรียนอาจจะมีเนื้อหาคนละแบบกัน เช่น วิชา History ของอินเตอร์จะเรียนเกี่ยวกับประเทศอังกฤษ โดยที่วิชาประวัติศาสตร์ของไทยก็เรียนเกี่ยวกับประเทศไทย แต่เนื้อหาของวิชาส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาหลักๆเหมือนกัน นักเรียนจากภาคไทยจึงสามารถไปเรียนต่อได้อย่างไม่ยากเย็น ถ้าไม่มีปัญหาทางด้านภาษา

2. รูปแบบการเรียนรู้ – การศึกษาภาคไทยโดยส่วนมากจะมีการสอนที่มุ่งไปที่การคิดคำนวนโดยละเอียดหรือการทำความเข้าใจทฤษฎีตามบทเรียนแต่สอนการนำไปประยุกต์ใช้จริงอยู่ไม่มาก ส่วนของฝั่งภาคอินเตอร์จะเน้นไปที่การประยุกใช้กับสถานการณ์จริงมากกว่าตามทฤษฎี เด็กนักเรียนจึงเก่งกันไปคนละแบบ

3. ค่าใช้จ่าย – แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายจำพวก ค่าเทอม, ค่าอุปกรณ์การเรียน, ค่าเรียนพิเศษ และ ค่าใช้จ่ายชีวิตประจำวัน ของเด็กนักเรียนภาคอินเตอร์ จะสูงกว่า นักเรียนภาคไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะถ้าเรียนที่ต่างประเทศ

4. การได้รับการยอมรับ – ระบบอินเตอร์จะได้รับการยอมรับกว้างขวางกว่าเนื่องจากเป็นระบบการศึกษาที่เป็นที่รู้จักในระดับสากล ส่วนระบบการศึกษาไทยจะจำกัดอยู่ในประเทศไทยเท่านั้นถ้าไปเรียนต่อที่อื่นอาจจะไม่เป็นที่รู้จักมากนักหรือาจจะต้องมีการทดสอบความรู้ใหม่ก่อนการเข้าเรียนที่อื่นๆในต่างประเทศ

5. ภาษา – นักเรียนอินเตอร์จะมีสภาวะแวดล้อมที่จำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษมากกว่าเด็กภาคไทย จึงทำให้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษสูงกว่า โดยเฉพาะด้านการเขียนรายงานเป็นภาษาอังกฤษ เพราะระบบการศึกษาไทยจะเน้นที่การอ่าน และการเรียนแกรมม่าเป็นหลัก แต่ไม่ได้มีการฝึกเขียนรายงานมากเท่าที่ควร

6. โอกาสในชีวิต – การเรียนแบบอินเตอร์ทำให้นักเรียนได้พบเจอกับเพื่อนๆต่างชาติเป็นการเปิดโลกทัศน์ ทำให้นักเรียนมีมุมมองกว้างขึ้นได้รับโอกาสในการติดต่อกับชาวต่างชาติมากขึ้น ในขณะที่นักเรียนภาคไทยจะได้พบเจอกับคนในประเทศมากกว่าซึ่งก็เหมาะสมกับนักเรียนที่ต้องการทำงานภายในประเทศ

 

ระดับการศึกษาที่นิยมไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศจะเป็นช่วงระหว่างรอยต่อทางการศึกษาที่มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าช่วงอื่นๆ เช่น หลังจบ ม.3, ม.6, มหาวิทยาลัย โดยก่อนไปเรียนต้องมีการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆดังนี้

สิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนการไปศึกษาต่อต่างประเทศ

ด้านวุฒิการศึกษา – เกรดเฉลี่ยยิ่งสูงยิ่งดี(โดนเฉลี่ยแล้วถ้าอยู่ในเกณฑ์ 2.50 – 3.00จะเป็นที่ยอมรับได้) และชื่อเสียงของโรงเรียนก็มีส่วนในการตัดสินใจรับเข้าศึกษาต่อในต่างประเทศด้วยเหมือนกัน

ด้านภาษา – นักเรียนที่ต้องการไปเรียนต่อต่างประเทศจำเป็นต้องสอบ IELTS หรือ TOEFL เพื่อวัดความสามารถทางด้านภาษาให้ได้ตามเกณฑ์ของโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยนั้นๆ โดยมากแล้วถ้าผลสอบออกมาต่ำกว่าเกณฑ์ไม่มากนักนักเรียนจะสามารถไปเรียนคอร์สภาษาเพื่อปรับพื้นฐานก่อนเข้าเรียนและสามารถเข้าเรียนได้เหมือนกัน แต่ถ้าสอบผ่านตั้งแต่แรกก็ไม่จำเป็นต้องไปเรียน

ด้านทุนทรัพย์ – นักเรียนที่ต้องการไปศึกษาต่อต่างประเทศจำเป็นต้องมีเงินทุนสำรองเก็บไว้มากพอสำหรับปีการศึกษาต่อไป บางโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยอาจจะเรียกร้องให้เราส่งใบรับรองทางการเงินที่ต้องไปขอจากธนาคารไปให้เขาด้วยเพื่อใช้ในการพิจารณารับหรือไม่รับเข้าศึกษา จำนวนเงินที่ต้องเตรียมไว้ก็จะแตกต่างกันตามประเทศที่ต้องการไปศึกษา และโรงเรียนที่ต้องการเข้าศึกษา

ด้านสุขภาพ – การทำวิซ่าเพื่อไปศึกษาต่อบางประเทศจำเป็นต้องมีการตรวจโรคต่างๆเช่น โรคปอด หรือ โรคติดต่อร้ายแรงอื่นๆที่มีการห้ามไว้ในประเทศนั้นๆ เราจึงจำเป็นต้องเตรียมสุขภาพของเราให้พร้อมก่อนไปเรียนและดูแลสุขภาพให้ดีในระหว่างเรียน เพราะการไปหาหมอที่ต่างประเทศเราอาจจะไม่สามารถอธิบายอาการได้อย่างถูกต้องและอาจจะมีปัญหาตามมาได้

ด้านจิตใจ – นักเรียนที่กำลังจะไปเรียนที่ต่างประเทศหลายๆคนอาจจะเคยได้ยินคำบอกเล่าต่างๆนานาจากเพื่อนๆหรือรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์ซึ่งมีทั้งดีและไม่ดี เราจึงควรเตรียมใจเราให้พร้อมรับกับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นให้กรณีที่มีเหตุไม่ดีเกิดขึ้น แต่เราก็ไม่ควรมองโลกในแง่ร้ายไปก่อนแค่เตรียมตัวให้พร้อมถ้าต้องเผชิญกับเหตุการนั้นไว้ก็เพียงพอ

 

สุดท้ายนี้น้องๆที่ต้องการไปเรียนต่อความศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสถาบันการศึกษาที่นักเรียนต้องการไปศึกษา และเตรียมตัวเองให้พร้อมล่วงหน้า โดยปรกติความจะเริ่มประมาณ 1ปี ก่อนไป

 

Share the Post: